กล้วยเบรกแตก
ประวัติความเป็นมา
บ้านไทรน้อย หมู่ที่ 6 ตำบลสามตุ่ม อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ 1,000 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำจากคลองขนมจีน คลองบ่อขันหมาก และคลองรางจรเข้ไหลผ่านเหมาะแก่การเกษตร ชาวบ้านจึงปลูกกล้วยน้ำว้าทุกบ้านกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่าย การปลูกกล้วยน้ำว้าไม่ต้องดูแลมาก และขยายพันธ์ได้ง่าย ทุกส่วนของกล้วยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยเฉพาะผลสามารถใช้ประโยชน์ทางอาหารได้สูงสุด รับประทานได้ทั้งผลดิบและสุกกล้วยสุกนำไปเผาทั้งเปลือก ขูดเอาแต่เนื้อไปบดกับข้าวเป็นอาหารชนิดแรกของคนไทยนอกจากนมแม่ นอกจากผลแล้ว ปลีกล้วยใช้เป็นผักเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญของแกงเลียงอาหารเพิ่มน้ำนมให้แก่แม่ที่เพิ่งคลอดบุตร กาบใน (ไส้) ใช้ทำอาหาร เช่น แกงกล้วยสุกรับประทานมีประโยชน์กับร่างกาย
เมื่อชาวบ้านปลูกกล้วยกันในจำนวนมากๆ เหลือกินชาวบ้านได้นำกล้วยสุกแจกจ่ายญาติ เพื่อนบ้านใกล้เคียง และจำหน่ายในชุมชนใกล้เคียงแต่กล้วยสุกมีราคาถูกผู้นำชุมชนได้ร่วมกันคิด เรื่องการแปรรูปกล้วยดิบทำกล้วยอบเนย แต่ชาวบ้านไม่มีความรู้ในเรื่องการแปรรูปผลผลิตจากกล้วยดิบ ผู้นำชุมชนจัดเวทีประชาคมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในเรื่องการแปรรูปกล้วยดิบ โดยทำโครงการ/กิจกรรมขอรับการสนับสนุนวิทยากรให้ความรู้ เรื่อง การแปรรูปกล้วยดิบการทำกล้วยอบเนย
โดยทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเสนา ได้ประสานอาจารย์จากวิทยาลัยการอาชีพเสนา ให้ความรู้แก่สตรีบ้านไทรน้อย เรื่องการทำกล้วยอบเนยในช่วงแรกๆ การทำกล้วยอบเนยทำแล้วไม่อร่อยกล้วยแข็งมาก สตรีบ้านไทรน้อยมีความพยายามและความอดทนไม่ย่อท้อฝึกทำกล้วยอย่างต่อเนื่องและเรียนรู้โดยการไปศึกษาดูงานแล้วนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ และการเรียนรู้จากวิทยากรจากหลายๆ หน่วยงานมาให้ความรู้และหาเทคนิควิธีการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้กล้วยอบเนยบ้านไทรน้อย กรอบ หอม หวาน อร่อย มีการกำหนดราคาขายปลีกและขายส่งในราคาย่อมเยาเพราะต้นทุนในการผลิตไม่สูงเพราะกล้วยได้จากชุมชนที่ปลูกเอง ปัจจุบันขายปลีกและขายส่งภายในชุมชน ภายนอกชุมชน ส่งกรมราชทัณฑ์และทัณฑ์สถานวัยหนุ่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาทุกสัปดาห์
ลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
ได้เข้าร่วมการประกวด OTOP ของจังหวัด ในงานมรดกโลก ซึ่งผลการคัดเลือก ได้รางวัลที่ 1
ความสัมพันธ์กับชุมชน
ใช้แรงงานในชุมชนเพื่อสร้างเป็นอาชีพเสริม และช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชน
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
– กล้วยดิบ
– น้ำมัน
– น้ำเปล่า
– น้ำตาลทรายขาว
– เกลือ
– เนย
– มะนาว
– ไม้ไสกล้วย
– ตะแกรง
– กระทะ
– เตา
ขั้นตอนการผลิต
นำกล้วยน้ำว้าดิบ (ใช้กล้วยน้ำว้านวล) มาปลอกเปลือกออกและแช่น้ำไว้ครึ่งชั่วโมงให้กล้วยอิ่มตัวแล้วจึงนำมาสะเด็จน้ำบนตะแกรง จากนั้นนำกล้วยมาใสใส่ถุงพักทิ้งไว้ จำนวน 6 ชั่วโมง จึงนำมาแกะออกจากกัน พึ่งทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง และมาทอดในน้ำมันบัวที่ร้อนจัดเพื่อให้กล้วยกระจาย ไม่เกาะกัน จนมีสีเหลืองอ่อนๆ จึงตักพักไว้บนตะแกรง ผึ่งให้เย็น และนำกล้วยที่ทอดแล้วที่พักไว้มาจุ่มในน้ำเชื่อม การทำน้ำเชื่อมโดยการนำน้ำตั้งไฟใส่น้ำตาลลงไปคนให้เข้ากันใส่เนยลงไป เกลือ มะนาวช่วยให้กล้วยมีสีสวยงามและเป็นเงา นำกล้วยมาชุบและตักไปทอดอีกครั้งให้ฟองในน้ำมันหมด และเห็นสีกล้วยทอดออกเหลืองแก่จึงตักออกมาผึ่งให้เย็นในตะแกรงแล้วนำมาซับน้ำมันให้เย็นแล้วนำมาบรรจุถุงจะเก็บได้นานกรอบ หอม หวาน อร่อย
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
1.ใช้เฉพาะกล้วยน้ำว้านวลที่ตัดใหม่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
2.ใสกล้วยน้ำว้านวลแล้วใส่ถุงพักทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง
3.ก่อนทอดกล้วยน้ำว้านวลนำกล้วยมาแกะออกจากกันก่อน
4.ใส่น้ำมะนาวเพื่อให้กล้วยมีสีสวยงามและเป็นเงา
ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
นางประดับ มาบุรี
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์